11 นักประดิษฐ์ที่เสียชีวิตเพราะสิ่งประดิษฐ์ของพวกเขา (ตอนที่1)

เทคโนโลยี

วิวัฒนาการของเรากว่าจะมาถึงระดับที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการคิดค้นประดิษฐ์ที่ต่อเนื่องและผลงานต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยนักคิดค้นหลายคน นักประดิษฐ์ทั้งหลายมีความคิดริเริ่มที่จะแก้ปัญหาต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแบบที่ไม่มีใครคิดมาก่อน แล้วทำการออกแบบมัน และทำตามความคิดนั้นไปสู่ความเป็นจริง


แต่ยังมีขั้นตอนที่อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาต้องได้รับการ ‘ทดสอบ’ ก่อนที่จะนำเสนอให้กับทุกคน และคนที่จะตรวจสอบความสำเร็จของสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น หลายครั้ง คือตัวของนักคิดค้นเอง แต่โชคไม่ดีที่บางคนต้องจบชีวิตโดยสิ่งที่พวกเขาคิดค้นขึ้นมา


1. เฮนรี่ สโมลินสกี้ (Henry Smolinski) 

เฮนรี่ สโมลินสกี้ เป็นวิศวกรที่จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยี นอร์ทธรอป (Northrop Institute of Technology) ซึ่งเป็นสถาบันวิศวกรรมการบิน เขาลาออกจากงานเพราะต้องการที่จะเปิดบริษัท Advanced Vehicle Engineers (AVE) ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการนำรถบินเข้าสู่ตลาด

ในปี 1973 บริษัทได้มีการสร้างต้นแบบ 2 แบบแรก หลังจากนั้นในวันที่ 11 กันยายน สโมลินสกี้ได้ขึ้นบินทดสอบกับนักบินชื่อ ฮาโรลด์ เบลค (Harold Blake) แต่โชคร้ายที่ทั้งสองคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุพุ่งชน เนื่องจากความผิดพลาดเมื่อท่อนยึดปีกนกล่างแยกออกจากตัวรถ คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติกล่าวว่าเป็นเพราะรอยเชื่อมที่เชื่อมต่อไม่ดี จึงนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้น

2. ฟรานซ์ รีเชลท์ (Franz Reichelt)

ฟรานซ์ รีเชลท์ เกิดในประเทศออสเตรีย เขามีอาชีพเป็นช่างตัดเย็บ นักประดิษฐ์คนนี้เคยใช้เวลาว่างของเขาในการตัดชุดชูชีพที่บินได้ ซึ่งเป็นชุดที่นักบินใช้สวมใส่

ช่วงที่รีเชลท์กำลังทำงานเกี่ยวกับการออกแบบชุดอยู่นั้น เครื่องบินกำลังเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เพิ่งคิดค้นได้ไม่นาน และกลไกของวิธีที่นักบินที่จะหนีออกจากเครื่องบินในกรณีฉุกเฉินยังคงอยู่ในช่วงดำเนินการ 

รีเชลท์ ทำการทดสอบครั้งแรกกับแบบของเขาโดยใช้หุ่นจำลอง ซึ่งประสบความสำเร็จดี ทำให้เขาลองทำการทดสอบชุดด้วยตัวเองโดยที่เขากระโดดลงมาจากชั้นของหอไอเฟลที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 187 ฟุต แต่การกระโดดครั้งนั้น เขาตกลงมากระแทกพื้นแข็งทำให้เสียชีวิต

3. ฮอเรส ลอว์สัน ฮันเล่ย์ (Horace Lawson Hunley) 

ฮันเลย์เป็นวิศวกรเรือ เป็นทนายความ และยังทำงานในสภานิติบัญญัติรัฐหลุยเซียด้วยเช่นกัน เขาสร้างเรือดำน้ำขึ้นมา 3 ลำ ซึ่งทั้งหมดนี้มีรูปแบบที่แตกต่างกัน เรือดำน้ำลำแรกของเขาถูกสร้างขึ้นในเมืองนิวออร์ลีนในปี 1862 แต่สุดท้ายมันจมลงไป เรือดำน้ำลำที่ 2 ของเขาก็จมลงในอ่าวโมบาย(Mobile Bay) ในอลาบาม่า เช่นกัน

ฮันเลย์เป็นคนออกทุนเองในการสร้างเรือดำน้ำลำที่ 3 ของเขา ในวันที่ 15 ตุลาคม ปี 1863 เขาลงเรือดำน้ำออกไปพร้อมกับลูกเรืออีก 7 คน แต่เรือดำน้ำได้จมลงที่เมืองชาร์ลสตันในรัฐแคโรไรนา อย่างไรก็ตาม มีลูกเรือ 2-3 คนที่โชคดีและรอดชีวิตมาได้ แต่ฮันเลย์ ได้จบชีวิตลงพร้อมกับเรือของเขา

4. โธมัส มิดเกลย์ เจอา (Thomas midgley) 

มิดเกลย์เป็นนักเคมี งานที่เป็นที่รู้จักของเขาเกี่ยวกับน้ำมันเบนซินตะกั่วและ ก๊าซเรือนกระจก, ฟรีออน, (Freon) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์พวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) ที่ใช้เป็นสารทำให้เกิดความเย็นในเครื่องทำความเย็นหรือทำให้เกิดแรงดันในกระป๋องสเปรย์ต่างๆ 

เมื่ออยู่ในการแถลงข่าวเขาได้เทน้ำมันเบนซินตะกั่วทั่วมือของเขาเพื่อพิสูจน์ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนี้มีความปลอดภัย แต่สิ่งที่เขาได้รับต่อมาคือความทุกข์ทรมานจากมัน เขาไม่ได้เสียชีวิตเพราะสาเหตุนี้ แต่เพราะสิ่งประดิษฐ์อื่นของเขา 

ช่วงที่เขาอยู่บนเตียงขณะที่ป่วยเป็นโรคโปลิโอ เขาได้สร้างระบบเชือกและรอกสำหรับตัวเอง แต่ด้วยความโชคร้าย ตัวเขาพันอยู่กับเชือก และเสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจ ปี1944 

5. มารี กูว์รี (Marie Curie)

มารี กูว์รี เป็นชาวโปแลนด์และเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล 2 รางวัล จาก 2 สาขาด้านวิทยาศาสตร์ เธอเป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ และเป็นที่รู้จักในงานที่มีชื่อเสียงของเธอเกี่ยวกับเรื่องกัมมันตรังสี 

มารี กูว์รีได้ค้นพบรังสีเรเดียมที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง และธาตุพอโลเนียม ซึ่งถูกนำมาศึกษาการใช้งานเกี่ยวกับความร้อนในยานอวกาศ เธอเป็นผู้สร้างทฤษฎีกัมมันตภาพรังสี แต่โชคร้ายที่สิ่งที่ค้นพบ คือกัมมันตรังสีนี้ ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ซึ่งทำให้ถึงตายได้ และเธอได้เสียชีวิตในปี 1934 เนื่องจากไขกระดูกถูกทำลาย ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งเกิดจากการสัมผัสรังสี 

6. เพอริลลอส แห่งเอเธนส์ (Perillos of Athens) 

เพอริลลอส เป็นช่างโลหะที่ออกแบบอุปกรณ์ชนิดหนึ่งขึ้นมานำเสนอต่อกษัตริย์ เพื่อที่จะใช้ลงทัณฑ์นักโทษอย่างโหดเหี้ยมที่สุด

อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า โคสัมฤทธิ์ (Brazen Bull) โดย เครื่องมือนี้มีรูปลักษณ์เป็นโคที่ทำขึ้นจากสัมฤทธิ์ทั้งตัว และภายในกลวง ที่ลำตัวโคข้างหนึ่งทำช่องมีฝาปิดไว้เป็นประตู นักโทษจะถูกใส่เข้าไปในตัวโคผ่านประตูนั้น จากนั้นจะสุมไฟใต้ท้องโคเพื่อให้โคโลหะร้อนระอุทั้งตัว นักโทษจะถูกอบอยู่ข้างในนั้นอย่างทรมาน และเสียชีวิต เนื่องจากผิวที่ไหม้อย่างรุนแรง 

โครงสร้างของวัวถูกออกแบบด้วยระบบท่อและหลอดซึ่งสามารถแปลงเสียงกรีดร้องที่โหยหวลของผู้ที่อยู่ภายใน ให้เป็นเสียงคล้ายกับเสียงร้องของโคที่กำลังโกรธ เพอริลลอสเคยกล่าวไว้ว่า “เสียงกรีดร้องอันน่าสยดสยองจะมาผ่านมายังท่อ และกลายเป็นเสียงที่อ่อนโยนที่สุด ไพเราะที่สุดและเป็นเสียงคำรามที่ฟังแล้วไม่น่ากลัว”

เพอริลลอสได้นำเสนอ โคสัมฤทธิ์ให้ กษัตริย์ฟาลารีส (Phalaris) แห่งนครอาครากัส (Acragas) ซึ่งปัจจุบันคือเมืองอากริเกนโต บนเกาะซิซีลี ภายหลังกษัตริย์มีความรังเกียจในความโหดเหี้ยมของเครื่องประหารชีวิตนี้มาก และสั่งให้จับผู้ที่สร้างมันขึ้นมา ใส่เข้าไปแล้วอบอยู่ในนั้น

 

11 นักประดิษฐ์ที่เสียชีวิตเพราะสิ่งประดิษฐ์ของพวกเขา ตอนที่2

 

ที่มา: WittyFeed
เรียบเรียง: SignorScience