ทำไมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้วยังมีแสงที่ขอบฟ้า?

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

แสงสนธยา คืออะไร?

บางที่เราจะเห็นว่าพระอาทิตย์นั้นได้ลับขอบฟ้าไปแล้ว แต่ยังกลับมีแสงให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆโดยที่ยังไม่ต้องพึ่งแสงจากไฟฟ้าเลย ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่า พลบค่ำ(Twilight) ซึ่งจะมีแสงที่เรียกว่าแสงสนธยาเกิดขึ้น ซึ่งบางคนอาจจะรู้จักในคำว่า ท้องฟ้าสีวนิลา (Vanilasky) ซึ่งเกิดจากการสะท้อนของแสงอาทิตย์ เวลาพลบค่ำนี้สามารถแบ่งได้ 3 ชนิดด้วยกัน คือ

1. แสงสนธยาทั่วไป (Civil Twilight) เมื่อดวงอาทิตย์นั้นเริ่มลับขอบฟ้าไปจนต่ำกว่า เส้นขอบฟ้า 6 องศาหรือประมาณ 10-30นาทีจากที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ปกติเราอาจจะเรียกช่วงเวลานี้ว่าโพล้เพล ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่สว่างที่สุด ที่เรายังสามารถทำกิจกรรมต่างๆนอกบ้านได้อย่างปกติ

2. แสงสนธยาทางทะเล (Nautical Twilight) เมื่อดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้าไปจนถึง 12องศา หรือประมาณ 30-50นาทีจากที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่สามารถใช้ในการระบุพิกัศทางทะเลสำหรับนักเดินเรือหรือกะลาสี สามารถใช้ช่วงเวลานี้ประกอบกับการสังเกตุดวงดาวในการหาทิศทางการเดินเรือได้ ช่วงเวลานี้แสงจะสว่างน้อยลงกว่าระดับแรก ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆไม่ค่อยชัดเจนแต่เห็นพอเป็นรูปร่างเลือนราง ซึ่งช่วงเวลานี้สามารถใช้ในการวางแผนการรบได้เช่นกันเนื่องจากเป้นเวลาที่สายตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

3. แสงสนธยาเชิงดาราศาสตร์ (Astronomical Twilight) เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปจนถึง 18องศา หรือประมาณ 50-70 นาทีหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ช่วงเวลานี้ดูราวกับเหมือนจะเป็นเวลากลางคืนแล้ว แต่ท้องฟ้ายังสามารถมืดได้มากกว่านี้ เป็นช่วงเวลาที่มืดพอที่เราจะใช่สังเกตุปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้

เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเกิน 18องศาไปแล้ว นั่นคือช่วงเวลากลางคืนจริงๆแล้ว แต่ถ้าเราอาศัยอยู่ในตำแหน่งละติจูดไม่เกิน 45.8 เหนือหรือใต้เส้นศูนย์สูตรเราจะเห็น แสงสนธยาทั้งตอนเช้าและเย็น อย่างไรก็ตามถ้าเราอยู่ใกล้ขั้วโลกดวงอาทิตย์จะขึ้นลงต่างออกไปทำให้ไม่สามารถเห็นแสงนี้ในทุกๆวันเพราะในช่วงฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะไม่ลงไปต่ำกว่าขอบฟ้าเกิน 18องศาเลย หรือตัวอย่างเช่น ลอนดอนในฤดูร้อนจะไม่มีกลางคืนเลยแต่จะมีเพียงแค่ แสงสนธยาเชิงดาราศาสตร์ (Astronomical Twilight)

 

เรียบเรียง: SignorScience