ทำไมมนุษย์ถึงกลัวแมงมุมและงู?

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

ในทางวิทยาศาสตร์กล่าวถึงเหตุผลที่ว่าเพราะอะไรเราถึงกลัวแมงมุมและงู


ถ้าเพียงแค่เห็นแมงมุมหรืองูก็เพียงพอที่ทำให้เราเย็นหวาบ ถ้าหยุดคิดว่าความกลัวนั้นมาจากไหน เราอาจมีจินตนาการเห็นเจ้าตัวน่าขนลุกเหล่านี้ทำให้เรารู้สึกกลัวไปตลอดชีวิต แต่งานวิจัยชิ้นใหม่นี้ได้เปิดประตูความคิดนั้นออกมา และเผยให้เห็นว่ามนุษย์กลัวแมงมุมและงูก่อนที่พวกเขาจะรู้จักว่าพวกมันคืออะไร

จากการศึกษา ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบัน Max Planck เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและรับรู้ของสมอง ได้ระบุถึงปฏิกิริยาความเครียดในทารกอายุประมาณ6 เดือนเมื่อเห็นภาพแมงมุมหรืองู ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเราได้สร้างความกลัวพวกมันขึ้นมาตั้งแต่แรกเกิด

“เมื่อทีมงานได้แสดงภาพของงูหรือแมงมุมให้กับเด็กทารกหลายคนดูแทนที่จะเป็นรูปดอกไม้หรือรูปปลาที่มีขนาดและสีเดียวกันกับงูและแมงมุม พวกเขามีปฏิกิริยาตอบสนองโดยมีลูกตาดำที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 

Stefanie Hoehl หัวหน้าทีมนักวิจัย ซึ่งได้ร่วมในงานวิจัยนี้กล่าวว่า”ในสภาพแสงที่คงที่การเปลี่ยนแปลงขนาดของลูกตาดำเป็นสัญญาณที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการกระตุ้น นอร์อะดีเนอร์จิก ซิสเต็ม (noradrenergic system)ในสมอง ซึ่งเป็นระบบประสาทที่ปล่อยสารสื่อประสาทออกมาตอบสนองต่อภาวะเครียดเมื่อสมองรับรู้ว่ามีภัยเกิดขึ้น ดังนั้นแม้แต่เด็กที่อายุน้อยที่สุดดูเหมือนจะมีความเครียดเพราะกลุ่มสัตว์เหล่านี้ “

การเปิดเผยเรื่องนี้เชื่อกันว่าความกลัวที่มีต่อสัตว์เหล่านี้มีการเชื่อมโยงทางวิวัฒนาการ ไปถึงบรรพบุรุษของมนุษย์เรา ว่ามีความรังเกียจพวกมัน ขณะที่ทารกมีแนวโน้มที่จะมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นโดยปริยาย อย่างไรก็ตามข้อควรระวังที่จะต้องกลัวแมงมุมและงูไม่ได้ขยายไปถึงสัตว์ที่เป็นชอันตรายชนิดอื่น ๆ เช่นหมี ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเด็กทารกไม่ได้เผชิญหน้ากับมันด้วยตัวเองในช่วงวิวัฒนาการของมนุษย์เท่าสัตว์ขนาดเล็กที่สามารถแอบเข้าไปได้ในทุกที่

ที่มา: brg
เรียบเรียง: SignorScience