ประวัติความเป็นมาของช็อกโกแลต
คุณโชคดีที่ไม่ได้เกิดมาก่อนศตวรรษที่ 16 เพราะช็อกโกแลตมีอยู่แค่ในเมโสอเมริกา ซึ่งเป็นอารยธรรม โบราณที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ รูปแบบของช็อกโกแลตในยุคนั้นต่างไปจากที่เราเห็นทุกวันนี้
ย้อนกลับไปในปี 1900 ผู้คนแถบนั้นเรียนรู้ในการเตรียมเมล็ดที่ได้จากต้นโกโก้ แล้วผสมเข้ากับคอร์นมีล ( corn meal ) ซึ่งเป็นเมล็ดข้าวโพดบดละเอียดแต่ไม่ละเอียดมาก และพริกไทย เพื่อทำเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งแต่ไม่ใช่โกโก้ร้อนเพื่อสร้างความผ่อนคลาย มันถูกปรุงแต่งให้มีรสชาติขม และทำให้เป็นฟองโฟม
ถ้าคุณคิดว่าเราเรื่องมากกับช็อกโกแลตทุกวันนี้ ชาวเมโสอเมริกันเป็นยิ่งกว่านั้น พวกเขามีความเชื่อว่าโกโก้เป็นของจากสวรรค์ ซึ่งเทพเจ้างูมีปีก หรือเทพมังกรได้ประทานเป็นของขวัญมาให้กับมนุษย์ เทพที่ชาวมายา (Maya) รู้จักกันในชื่อ คุคลูคาน (Kukulkan) หรือที่ชาวแอชเท็ก (Aztec) รู้จักกันในชื่อว่า เทพเจ้ามังกรเควทซาลโคลท์ (Quetzalcoatl)
ชาวแอชเท็กใช้เมล็ดโกโก้กันอย่างแพร่หลาย พวกเขาดื่มช็อกโกแลตที่งานเลี้ยงในพระราชวัง หรือให้เป็นของรางวัลกับทหารที่ชนะสงครามกลับมา และใช้ในพิธีกรรมต่างๆด้วย
ในปี 1519 ช็อกโกแลตได้ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรก เมื่อ เอร์นัน กอร์เตส (Hernán Cortés) นักทำแผนที่และนักสำรวจชาวสเปน ได้มาเยือนราชสำนักมอนเตซูมา (Moctezuma) ที่เอชเท็ก จากบันทึกของผู้แทนของกอร์เตส กษัตริย์ได้นำเครื่องดื่มช็อกโกแลต 50 เหยือกออกมาเทใส่ในถ้วยทองคำ เมื่อผู้มาเยือนอาณานิคมเดินทางกลับสเปน ได้บรรทุกเมล็ดพืชชนิดใหม่ที่แปลกนี้ไปด้วย
หมอสอนศาสนาได้สร้างชื่อเสียงให้มันว่าเป็นยา แรกเริ่ม ด้วยรสชาติที่ขมของมันจึงเหมาะเป็นยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วย เช่น ท้องเสีย แต่ได้ทำให้มันหวานขึ้นด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาล หรือวนิลา ทำให้ช็อกโกแลตกลายเป็นอาหารรสเลิศเป็นที่นิยมในราชสำนักสเปนอย่างรวดเร็ว ไม่ช้า ในบ้านของชนชั้นสูงไม่มีบ้านไหนที่จะไม่มีช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่ทันสมัยนี้มีการทำที่ยากและใช้เวลานาน ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่การปลูกต้นโกโก้ จึงมีการนำแรงงานทาสเข้ามาจากในแถบคาริเบียนและนอกชายฝั่งแอฟริกา
ในปี 1828 โลกของช็อกโกแลตได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล โดยการริเริ่มของ คอนราด แวนฮูเตน (Coenraad Van Houten) จากอัมสเตอร์ดัม ที่นำโกโก้มาบด ซึ่งเครื่องประดิษฐ์ของเขาสามารถแยกไขมันธรรมชาติของเมล็ดโกโก้ หรือที่ที่เรียกว่าเนยโกโก้ออกมา ทำให้เหลือแต่ผงโกโก้ที่สามารถนำไปผสมทำเป็นเครื่องดื่มได้ หรือนำไปรวมกับเนยโกโก้เพื่อทำเป็นช็อกโกแลตแท่งที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้
ไม่นานหลังจากนั้น ผู้ผลิตช็อกโกแลตชาวสวิสมีชื่อว่าแดเนียล ปีเตอร์(Daniel Peter) ได้ประสมผงนมลงไปในช็อกโกแลตนั้น ทำให้เกิดเป็นช็อกโกแลตนมขึ้นมา
ในศตวรรษที่20 ช็อกโกแลตไม่ได้เป็นสิ่งที่หรูหราฟุ่มเฟือยอีกต่อไป แต่เป็นขนมหวานสำหรับคนทั่วไป
เมื่อมีความต้องการช็อกโกแลตในปริมาณมหาศาลจึงทำให้มีการเพาะปลูกเพิ่มตามไปด้วย การปลูกต้นโกโก้นี้ทำได้เฉพาะบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้น จากที่เคยขนส่งทาสแอฟริกันจากแอฟริกาใต้เข้ามาเพื่อเพราะปลูก จึงย้ายการผลิตไปที่แอฟริกาตะวันตกแทน โกตดิวัวร์ (Côte d’Ivoire) ได้กลายเป็นแหล่งผลิตโกโก้ที่ใหญ่ถึง 2ใน 5 ส่วนของโลก ในปี 2015
แต่ยังคงมีการเติบโตในอุตสาหกรรมนี้ จึงยังมีเรื่องที่น่ากลัวของเรื่องสิทธิมนุษยชน การเพราะปลูกทั่วทั้งแอฟริกาตะวันตกส่วนใหญ่ ป้อนผลผลิตให้กับบริษัททางตะวันตก และมีการใช้แรงงานทาสและเด็ก จากการคาดคะเนมีเด็กประมาณ 2 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบนี้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและยังคงมีอยู่หากบริษัทช็อกโกแลตรายใหญ่ตลอดจนถึงผู้ร่วมธุรกิจชาวแอฟริกันไม่ทำข้อตกลงในการลดการใช้แรงงาน
ดังนั้น ถ้าคุณแกะกระดาษห่อช็อกโกแลตในครั้งต่อไป หยุดคิดสักนิดว่าไม่ใช่ทุกอย่างของช็อกโกแลตที่มีความหวานเสมอไป
ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience