แอลกอฮอล์ลในเหล้ากับแอลกอฮอล์ล้างแผลต่างกันอย่างไร?

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

 

โดยปกติเราอาจจะเรียกแอลกอฮอล์ในเหล้ากับแอลกอฮอล์ที่ใช้ล้างแผลว่าแอลกอฮอล์เหมือนกัน แต่มันแตกต่างกันอย่างไร? และมันสามารถนำมาใช้แทนกันได้ไหม?

แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มมึนเมาต่างๆเช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ บรั่นดี เป็นเอธิลแอลกอฮอล์ที่ไม่มีสีและสามารถรับประทานได้ซึ่งอาจจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกันในเหล้าแต่ละชนิด แอลกอฮอล์โดยหลักแล้วคือเอธานอลแต่เอธิลแอลกอฮอล์นั้นเป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการแปรรูปพืชที่มีแป้งและน้ำตาลเป็นองค์ประกอบเช่นอ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ซึ่งแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กดประสาทและอาจจะทำให้ผู้บริโภคเสพติด เครื่องดื่มมึนเมาเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารต่ำแต่มีแคลอรี่ค่อนข้างสูง โดยที่เบียร์จะมีปริมาณแอลกอฮอล์น้อยอยู่ที่ประมาณ 4%-6% ส่วนสุราต่างๆเช่น วิสกี้ บรั่นดี วอดก้า จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูงอยู่ที่ประมาณ30%-50%

pexels

แอลกอฮอล์ล้างแผลคือเอทานอลที่มีความเข้มข้นสูงถึง70% ประกอบด้วยแอลกอฮอล์70%และน้ำ30% และโดยส่วนมากจะถูกเติมสารสีฟ้าที่เรียกว่า Brilliant Blue CFCเพื่อให้สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนว่าเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถรับประทานได้เนื่องจากความเข้มข้นสูง และเพราะว่าแอลกอฮอล์ล้างแผลที่มีความเข้นข้นสูงจึงสามารถทำลายแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัสต่างๆได้ดี ในท้องตลาดจะมีจำหน่ายแอลกอฮอล์อยู่2ชนิด คือEthyl alcohol หรือ Ethanol (สูตรเคมีคือ C2H5OH) และไอโสโพรพิลแอลกอฮอล์ Isopropyl alcohol หรือ Isopropanol alcohol และมีเรียกอีกชื่อนึงว่า Dimethyl carbinol (สูตรเคมีคือ C3H7OH) ซึ่งถ้าหากความเข้มข้นต่ำเกินไปจะไม่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียต่างๆได้ และถ้าสูงเกินไปก็จะบริโภคไม่ได้นั่นเอง

 

 

เรียบเรียง: SignorScience