อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องผูก ?

สุขภาพ

การเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย เป็นเรื่องหนึ่งที่มนุษย์เราต้องทำทุกวัน แต่บางครั้งก็เกิดอาการท้องผูก ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันในระบบย่อยอาหาร อาหารที่เรากินเข้าไปนั้น หากคงอยู่ในร่างกายหลายวันก่อนที่จะถ่าย นั่นหมายถึงอาการท้องผูก ซึ่งอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ ทำให้ต้องออกแรงเบ่งเวลาขับถ่ายอยู่เป็นประจำ

สิ่งนี้เกิดจากอะไร?

อาการท้องผูกเกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นอวัยวะที่เป็นกล้ามเนื้อ ที่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้น (ascending) ทางขวา ,ส่วนขวาง (transverse), ส่วนลง (descending) และ ส่วนที่คด (sigmoid) ที่ต่อกับปลายสุดของลำไส้ใหญ่ (rectum) และทวารหนัก (anus) 

ลำไส้เล็กจะนำของเสียที่มาจากอาหารที่เรากินเข้าไปและย่อยเป็นกากอาหารแล้วไปสู่ลำไส้ใหญ่ ขณะที่กากอาหารเหล่านี้ผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ลำไส้จะทำการดูดซึมน้ำส่วนใหญ่ในกากอาหารที่ผ่านเข้ามา ทำให้กากอาหารที่เป็นของเหลวกลายเป็นของแข็ง กากอาหารที่ผ่านลำไส้ใหญ่นี้ ยิ่งใช้เวลานานเท่าไร ยิ่งมีการดูดซึมน้ำออกไปมากขึ้นเท่านั้น ทำให้อุจจาระมีความแข็งเพิ่มขึ้น เมื่อมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนคดซึ่งเป็นช่วงการดูดซึมน้ำช่วงสุดท้าย ก่อนที่อุจจาระจะผ่านเข้าไปสู่ปลายลำไส้ใหญ่ ผนังลำไส้ส่วนคดนี้จะยืดตัว เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้กล้ามเนื้อหูรูดภายในของช่องทวารหนักปล่อยอุจจาระออกไป 

ที่จุดนี้ โดยปกติจะเป็นจุดที่คุณตัดสินใจว่าจะถ่ายหรือจะอั้นไว้ก่อน ซึ่งจะถูกควบคุมโดยกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor muscles) โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ชื่อว่า พูโบเรคทาลิส (puborectalis) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอก รูปร่างของมันเหมือนแถบสายคล้องรัดรอบปลายลำไส้ใหญ่ มันสร้างให้เกิดมุมที่เรียกว่า แอนนอเรคทอล(anorectal angle) คือประมาณ 120 องศา และเมื่อกล้ามหูรูดทวารหนักชั้นใน คลายตัวออก อุจจาระจะถูกปล่อยออกมาจากร่างกาย แต่เมื่อคุณมีอาการท้องผูก ความอยากเข้าห้องน้ำนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการขับถ่ายออกมา

โดยปกติปัญหานี้จะเกิดจาก 2 ปัจจัย อย่างแรก คือ อุจจาระเคลื่อนตัวช้าในลำไส้ใหญ่ อย่างที่2 คือ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเกิดการทำงานผิดปกติ ( pevel floor dysfunction) เมื่ออุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่อย่างช้ามาก ทำให้เกิดการดูดซึมน้ำกลับมากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งขึ้น และกับการทำงานที่ปกติของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานนั้น อุจจาระไม่สามารถถูกขับออกมาเพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานรัดส่วนปลายลำไส้ใหญ่แน่นไป หรือ กล้ามเนื้อล้มเหลว โดยปกติเนื่องจากให้การให้กำเนิดบุตร หรือ เมื่อมีอายุมากขึ้น 

ปัญหาทั้ง 2 อย่างนี้ ทำให้มุมแอนนอเรคทอล กลายเป็นมุมที่แหลมมากขึ้น ทำให้ยากกับการขับของเสียออกจากร่างกาย 

เพื่อที่จะระบุอาการท้องผูกได้อย่างแน่ชัด นักวิจัยได้เริ่มการสร้างแผนภาพวัดขนาดอุจจาระแบบเมตริก เช่น Bristal stool chart คนส่วนใหญ่เมื่อเห็นแผนภาพนี้ จะสามารถบอกได้ว่าเคยมี พวกเขาเคยประสบการณ์ท้องผูกมาก่อนหรือไม่ 

เมื่อคุณนั่งที่โถขับถ่าย คุณควรจัดตำแหน่งร่างกายให้เหมือนท่าสควอท โดยการนั่งให้เต็มโถ คุณสามารถยกเท้าวางบนเก้าอี้เตี้ยๆ แล้วเอนตัวมาด้านหน้า โดยที่หลังยังตรงอยู่ เพื่อให้มุมแอนนอเรคตอลยึดออก ทำให้เส้นทางการถ่ายสะดวกขึ้น 

ถ้าคุณไม่ถ่ายมา 1 วัน ไม่ได้หมายความว่าคุณท้องผูก แต่ถ้าคุณกำลังท้องผูกอยู่ โดยที่ไม่ขับถ่ายมาเป็นเวลาหลายวัน วิธีง่ายๆคือการปรับเปลี่ยนอาหารที่กินอยู่ และ การใช้ชีวิตประจำ โดยกินอาหารที่มีเส้นใย เช่น ผัก ให้มากขึ้น ,ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ , นวดท้องบ้าง และ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว 

วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้คุณสามารถกลับไปขับถ่ายได้ทุกวัน

 

 

ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience