อาการปวดหัวไมเกรนและวิธีป้องกัน

ปวดหัวไมเกรนเป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงซึ่งมีลักษณะอาการปวดศรีษะเพียงข้างเดียวและมักจะมีอาการบ่งบอกก่อนที่จะเป็นไมเกรน การปวดไมเกรนอาจจะปวดเพียง 2 ชั่วโมงหรืออาจจะถึง3วัน

สาเหตุของอาการปวดไมเกรนคืออะไร?
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่นอนแต่60%-80%ของประชากรมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรน โดยปกติไมเกรนมักจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง การงดมื้ออาหาร อาหารที่มีโมโนโซเดียมกลูตาเมท ไนเตรทเช่นไส้กรอกหรือแฮม ไทรามีนเช่นชีสและแซลมอนรมควัน ความเมื่อยล้าและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ นอกจากนั้นยังมีตัวกระตุ้นอื่นๆเช่น ความเครียด การนอนไม่เพียงพอหรือมากเกินไป ยาและยาคุมกำเนิด การเป็นประจำเดือนและการตั้งครรภ์

ลักษณะอาการของการปวดไมเกรนคือ?
- ในการปวดไมเกรนแบบคลาสสิค(Classic Migraine) หนึ่งวันหรือหลายชั่วโมงก่อนที่จะเกิดอาการปวดไมเกรนผู้ป่วยอาจจะมีอาการบ่งชี้ก่อนที่จะเกิดอาการปวดไมเกรนได้แก่ การอ่อนไหวต่อแสงจ้า,กลิ่นและเสียงดัง ปวดเมื่อย คลื่นไส้ ความอยากอาหารที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น
- สำหรับการปวดไมเกรนชนิดออร่า (Auras Migraine) คือ อาการที่เกี่ยวกับความรู้สึก เช่น เห็นแสงวาบ เห็นจุดดำๆ หรือรู้สึกซ่าในบริเวณใบหน้าและมือ เป็นต้น จะมีอาการปวดประมาณ10-30นาที หลังจากนั้นอาการปวดไมเกรนและอาการต่างๆข้างต้นจะหายไป การปวดไมเกรนชนิดออร่ารวมถึงการมีปัญหาทางการได้ยินหรือการมองเห็น การปวดหัวข้างเดียวนี้อาจจะทำให้คลื่นไส้และอาเจียรได้

การวินิจฉัยโรคไมเกรนทำอย่างไร?
แพทย์ต้องดูประวัติการรักษาของแต่ละบุคคลและตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย นอกจากนั้นแพทย์อาจจะทำ CT (Computed Tomography)/MRI(Magnetic Resonance Imaging) เพื่อที่จะตัดโรคที่ไม่เกี่ยวข้องแต่มีอาการคล้ายคลึงกันออก

การรักษาไมเกรนทำได้อย่างไรบ้าง?
ตัวยาหลายตัวที่จ่ายให้ผู้ป่วยเป็นการรักษาเพียงเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว แพทย์อาจจะจ่ายยาประเภท NSAIDs (Nonsteroidal Antiinflammatory Drugs) เช่น Ibuprofen, Naproxen, Ergotamine, Sumatriptan และ Triptans อื่นๆ เพื่อหยุดการปวดไมเกรน
- เพื่อป้องกันการเป็นไมเกรน ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยาทุกๆวัน
- ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอย่างรุนแรงและยาวนานอาจจะได้ยาประเภทอื่นเพิ่มด้วย
- ตัวกระตุ้นไมเกรนได้แก่ ช็อคโกแลต ไวน์แดง Port Wine ชีส หัวหอม อาหารมัน และอาการที่มีกรดสูงเช่นส้ม อาหารจำพวกนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่เป็นไมเกรน

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรสำหรับผู้ที่เป็นไม่เกรน
- ควรนำผ้าเย็นมาประคบบริเวณศรีษะหรือใบหน้าเมื่อคุณรู้สึกว่าเริ่มปวดไมเกรน
- ควรนอนพักในห้องที่มืดและเงียบและมีหมอนหนุนหัวเพื่อการพักผ่อนและนอนหลับ
- ควรลดเสียง แสง และกลิ่นต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นอาหารและใบยาสูบ
- ควรหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นไมเกรนต่างๆ เช่นอาหาร ความเครียด การนอนไม่เพียงพอ และยาบางชนิด โดยอาจจะทำสมุดบันทึกอาหารว่าอาหารอะไรเป็นตัวกระตุ้นสำหรับเราบ้าง
- ควรไปพบแพทย์ถ้าหากมีอาการปวดไมเกรนมากกว่าปกติหรือในกรณีที่การบริโภคยาไม่ช่วยบรรเทาอาการ รวมถึงถ้ามีไข้ ปวดหัว และอาเจียรอย่างรุนแรง
- ควรออกกำลังการเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี
- ไม่ควรขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรในขณะที่มีอาการ
ที่มา:medicinae-doc
เรียบเรียง: SignorScience