อาหารที่คุณกินเข้าไปมีผลกับลำไส้ของคุณอย่างไร

สุขภาพ
TED-Ed

แบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อราที่อาศัยอยู่ทั้งบนร่างกายและภายในร่างกายของเรามีจำนวนนับล้านล้านตัว การรักษาสัมพันธภาพที่ดีและการรักษาสมดุลย์กับพวกมันจะเป็นผลดีกับตัวเรา และจะสร้างจุลินทรีย์ในลำไส้ขึ้นมา (Gut microbiome) ซึ่งเป็นระบบที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีหน้าที่หลากหลายในร่างกายของเรา

แบคทีเรียในลำไส้ของเราสามารถย่อยอาหารที่ร่างกายเราย่อยเองไม่ได้ สร้างสารอาหารที่สำคัญขึ้นมา ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และปกป้องเราจากเชื้อโรคที่เป็นอันตราย เรายังไม่มีแผนผังที่สามารถอธิบายได้ละเอียดว่าแบคทีเรียชนิดใดบ้างที่ดีและทำให้ลำไส้แข็งแรง เรารู้แต่เพียงว่าการทำให้จุลินทรีย์แข็งแรงคือต้องมีความหลากหลายของชนิดแบคทีเรีย ปัจจัยหลายอย่างมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในร่างกาย รวมถึงสภาพแวดล้อมหลายอย่าง การใช้ยาหรือแม้แต่การคลอดบุตรโดยผ่าตัดทางหน้าท้อง อาหารที่เรากินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยลำดับต้นๆ ที่มีผลต่อความแข็งแรงของลำไส้เช่นกัน

ขณะที่เราไม่สามารถควบคุมปัจจัยทั้งหมดได้ แต่เราสามารถปรับความสมดุลย์ของจุลินทรีย์ในร่างกายเราได้โดยการกำกับอาหารที่กิน อาหารที่มีเส้นใยอาหารเช่น ผลไม้ ผักต่างๆ ถั่วต่างๆ พืชฝัก และ ธัญพืช เป็นอาหารที่ดีที่สุดต่อแบคทีเรียในลำไส้ เมื่อมันย่อยเส้นใยอาหาร มันจะสร้างกรดไขมันชนิดสายสั้น (short chain fatty acid ) ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญของเยื่อบุผิวของลำไส้ใหญ่ ทำให้เยื่อบุผิวแบ่งตัวเพิ่มขึ้น มีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น ทำให้ลำไส้ใหญ่สามารถดูดซึมน้ำและเกลือแร่ได้ดีขึ้น เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถป้องการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

ดังนั้นยิ่งคุณกินอาหารที่มีเส้นใยมากเท่าไร แบคทีเรียลำไส้นี้ก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในการวิจัยเมื่อไม่นานนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ลองเปลี่ยนอาหารของกลุ่มคนในชนบทของแอฟริกาใต้ที่ส่วนใหญ่มีเส้นใยสูง  เป็นอาหารที่มีไขมันสูง อย่างอาหารประเภทเนื้อ หลังจากผ่านไป 2 อาทิตย์ อาหารที่เต็มไปด้วยไขมันซึ่งมีเส้นใยอาหารน้อยตามแบบอาหารตะวันตก ทำให้กลุ่มคนในชนบทมีการอักเสบของลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น และกรดไขมัน (Butyrate)ที่เคยได้จากการย่อยสลายเส้นใยในลำไส้ลดลง ซึ่งหากมีกรดไขมันนี้น้อยลง จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่สลับไปกินอาหารที่มีเส้นใยสูงและไขมันต่ำ ได้รับผลในทางตรงข้ามกัน

TED-Ed

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับแบคทีเรียลำไส้เมื่อเรากินอาหารที่มีเส้นใยน้อยลง? การกินอาหารที่มีเส้นใยน้อยลง ทำให้แบคทีเรียลำไส้มีอาหารน้อยลง เหมือนให้พวกมันอดอาหารจนตายไป เป็นทำให้เรามีความหลากหลายของชนิดของแบคทีเรียลดลง และแบคทีเรียที่หิวโหยบางชนิด ก็เริ่มที่จะกินเยื่อบุลำไส้เราแทน ยังมีอาหารบางประเภทที่มีผลกับแบคทีเรียลำไส้ด้วย ในการศึกษาเรื่องจุลินทรีย์เมื่อไม่นานนี้ นักวิจัยพบว่า ผลไม้ , ผัก,น้ำชา, กาแฟ, และดาร์กช๊อคโกแลต มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความหลากหลายของแบคทีเรียลำไส้ อาหารเหล่านี้ประกอบด้วยสารโพลิฟีนอล (Polyphynol) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ในอีกแง่หนึ่งคืออาหารที่มีไขมันสูง น้ำอัดลมที่มีน้ำตาลให้ความหวานจะมีความสัมพันธ์กับการลดความหลากหลายของแบคทีเรียลง

ขั้นตอนการเตียมอาหารก็มีส่วนสำคัญ อาหารที่มีขั้นตอนการเตรียมน้อยเช่นผลไม้สด แค่หั่นแล้วกินได้เลย จะมีเส้นใยอาหารมากกว่า อาหารที่ผ่านการใช้ไฟต่ำหรือผัด แต่มีคุณค่ามากกว่าอาหารที่ทอดในน้ำมันหรือที่ต้องใช้ไฟแรง ยังมีวิธีเตรียมอาหารที่มีแบคทีเรียที่ดีให้ลำไส้คุณอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ในอาหาร จะพบได้มากในการหมักดองเพื่อถนอมอาหาร ที่มีมาทั่วโลกตั้งแต่ก่อนที่ยังไม่มีตู้เย็นใช้ เช่น กิมจิจากเกาหลี กระหล่ำปลีดองจากเยอรมัน ถั่วเหลืองหมัก-เทมเป้ จากเกาะชวา และ น้ำชาหมัก-คอมบุช่ะ จากญี่ปุ่น ซึ่งให้ความหลากหลายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย โยเกิร์ตเป็นอาหารหมักอีกชนิดหนึ่งที่มีแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่ได้หมายว่าโยเกิร์ตทั้งหมดดีกับเรา บางชนิดมีน้ำตาลมากเกินไปและมีแบคทีเรียไม่เพียงพอ อาจช่วยได้ไม่มากนัก

 

ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience