วิศวกรค้นพบวิธีสร้างถนนที่ทำจากพลาสติก

เทคโนโลยี
MacRebur

วิศวกรชื่อToby McCartneyต้องการที่จะใช้พลาสติกที่นำมารีไซเคิลแทนน้ำมันดินเพื่อที่จะนำมาซ่อมแซมถนนระยะทางยาวถึง 40ล้านกิโลเมตรหรือ24.8ล้านไมล์ ความคิดนี้ไม่เพียงแก้ปัญหาเรื่องซ่อมถนนเพียงอย่างเดียวแต่ยังช่วยแก้ปัญหาอื่นๆรวมถึงการปรับปรุงคุณภาพของถนน,ปัญหาการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มาจากน้ำมันดิบ,และขยะพลาสติกที่แพร่กระจายไปทุกที่

บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติสก๊อตแลนด์ของเขาชื่อว่าMacReburได้ทำการนำขยะพลาสติกต่างๆมาผสมเข้าด้วยกันกับยางมะตอยซึ่งสามารถนำมาสร้างถนนที่มีอายุการใช้งานยาวนานและทนทานกว่านอกจากนั้นยังลดโอกาสการเกิดหลุมบ่อของถนนอีกด้วย เขาได้แรงจูงใจการทำถนนด้วยพลาสติกนี้จากลูกสาวของเขาเมื่อครูที่โรงเรียนถามลูกสาวของเขาว่า “อะไรที่อาศัยอยู่ในทะเล?” แต่ลูกสาวของเขากลับตอบว่าพลาสติก หลังจากนั้นเขานึกขึ้นได้เกี่ยวกับสิ่งที่เขาเคยเห็นที่อินเดีย เขาเห็นชาวอินเดียนำขยะพลาสติกมาผสมเข้ากับPotholesและเผามันเพื่อซ่อมถนนที่เป็นหลุมบ่อ หลังจากนั้นเองเขาจึงเริ่มพัฒนาวิธีการของเขาที่จะนำมาปรับใช้กับถนนยางมะตอย

โดยปกติถนนทั่วไป90%จะประกอบด้วยหิน,หินปูน,ทราย,และ10%คือน้ำมันดิน(Butimen)เพื่อเชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกัน ซึ่งน้ำมันดินนี้ถูกสกัดมาจากน้ำมันดิบ และตรงนี้เองที่เม็ดพลาสติกของเขามาแทนที่ ซึ่งเม็ดพลาสติกนี้สามารถผลิตได้จากขยะพลาสติกที่สามารถหาได้ตามบ้านเรือนทั่วไปหรือแม้แต่ที่รับซื้อขยะ ตัวอย่างเช่น Polythyleneใช้เป็นพลาสติกที่ใช้เพื่อบรรจุของ(ขวดน้ำ) โดยพลาสติกที่เขาได้มาจะเป็นพลาสติกที่ถูกมัดเป็นก้อนรวมกันเป็นมัดใหญ่ๆซึ่งกำลังจะถูกส่งไปยังที่ฝังกลมหรือที่ทิ้งขยะ หลังจากนั้นขยะพลาสติกเหล่านี้จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการการทำให้เป็นเม็ดพลาสติกเล็กๆ  หลังจากนั้นเม็ดพลาสติกที่ได้จากขยะนี้จะถูกนำไปผสมที่โรงงานยางมะตอยซึ่งกระบวนการอื่นๆทั้งหมดนั้นเหมือนกันการทำยางมะตอยปกติทั่วไปจึงทำให้ไม่ต้องการเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใหม่ในกระบวนการผลิต

McCartneyยังไปชักชวนเทศบาลของอังกฤษสองแห่งเพื่อจะเริ่มใช้ขยะพลาสติกในการสร้างถนนโดยCumbriaเป็นที่แรกที่ทดลองใช้ถนนพลาสติกนี้ เขากล่าวว่าถนนที่สร้างด้วยพลาสติกนี้ใช้งบประมาณการสร้างน้อยกว่าถนนปกติและยังคงทนกว่าอีกด้วย ซึ่งถ้าเป็นไปตามอย่างที่เขาพูดนั้นแปลว่าเขากำลังช่วยทำให้โลกสะอาดขึ้นและยังได้ถนนที่คงทนกว่าเดิม

MacRebur
MacRebur

 

ที่มา: BBC
เรียบเรียง: SignorScience