คุณจะไม่สามารถใช้พลาสติกในเมืองนี้ได้อีกต่อไป

สิ่งแวดล้อม

 

Pixabay

นิวเดลี เมืองหลวงของอินเดียมีมาตรการต่อต้านหนึ่งในปัญหามลพิษที่รุนแรงที่สุดของโลกนั่นคือขยะพลาสติก

มนุษย์ทิ้งขยะพลาสติกประมาณ78ล้านตันซึ่ง32%ในจำนวนนี้เป็นขยะที่ถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำรวมถึงทะเล เทียบได้กับการทิ้งขยะขนาด1คันรถบรรทุกในทุกๆหนึ่งนาที จากการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ลงในบทความScience ปริมาณขยะพลาสติกที่ประเทศอินเดียทิ้งลงในมหาสมุทรในปี2010นั้นอยู่ลำดับที่12ของโลกจากจำนวน192ประเทศ โดยประเทศจีนอยู่อันดับที่1ในการจัดอันดับครั้งนี้ ที่น่าตกใจคือประเทศไทยอยู่ในลำดับที่6 ซึ่งปัญหาหลักมาจากการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพที่มากถึง75%ของจำนวนขยะโดยรวม

 

เพราะสาเหตุนี้ทำให้National Green Tribunalได้เริ่มวางมาตรการณ์การห้ามใช้พลาสติกในเมืองหลวงของประเทศดังนั้นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงนิวเดลีจะไม่สามารถใช้ถุงพลาสติก,ถ้วยพลาสติก,หรือมีดพลาสติกได้อีกต่อไป

Science, Vol 347, Issue 6223, 2015

ภาวะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในประเทศอินเดียได้กระตุ้นรัฐบาลและผู้บังคับใช้กฏหมายในการบังคับใช้กฏนี้ในประเทศ นอกจากประเทศอินเดียจะเป็นประเทศหลักที่ก่อมลพิษทางทะเลแล้วยังถูกกล่าวขานว่าเป็นประเทศที่มีกระบวนการเผาขยะที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศด้วย WHOหรือองค์การอนามัยโลกได้ศึกษาและออกมาเตือนว่ากระบวนการกำจัดขยะเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากการเผาขยะที่ก่อให้เกิดมลพิษนี้จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก

ประเทศอินเดียนั้นได้เริ่มใช้มาตรการณ์การจัดการดูแลขยะพลาสติกแล้ว ซึ่งกลุ่มGreenPeaceหวังว่ามันจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกลงได้ นอกจากนั้นประเทศอื่นๆก็ควรที่จะเริ่มให้ความสนใจปัญหาขยะพลาสติกมากขึ้นและช่วยวางมาตรการณ์ดูแลปัญหานี้ต่อไป

 

ที่มา: Futurism
เรียบเรียง: SignorScience