นาฬิกาชีวิตสำคัญกับเราอย่างไร หนึ่งในงานวิจัยระดับรางวัลโนเบล
สิ่งที่ทำให้คุณเป็น “คนทีี่นอนเร็วตื่นเช้า” หรือ “คนที่นอนดึกตื่นสาย” ไม่ใช่เพียงแค่ความชอบที่แตกต่างกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งทางชีววิทยาของมนุษย์และถ้าเราไม่ให้ความสำคัญมันอาจเป็นอันตรายต่อตัวของเราเอง
รางวัลโนเบลปี2017สาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ถูกยกให้กับผลงานการค้นพบการทำงานของนาฬิกาควบคุมภายในร่างกายที่เรียกว่า circadian ในระดับโมเลกุล ที่ศึกษาโดย Jeffrey Hall, Michael Rosbash และ Michael Young นักวิจัยเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการระบุว่าเซลล์ในสิ่งมีชีวิตมีนาฬิกาชีวิตควบคุมอยู่หรือที่เรียกว่า chronotype หรือ circadian rhythm เป็นการหลั่งสารต่างๆของร่างกายในรอบวัน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการดำเนินชีวิตตั้งแต่เวลาที่ผู้คนรู้สึกตัวและตื่นจนถึงทำให้ง่วงและนอนหลับ เป็นการค้นพบที่ได้รับการยกย่องเพราะมันแสดงให้เห็นถึงการทำงานของชีววิทยาที่อธิบายนาฬิกาชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นต้นไม้,แมลงวันผลไม้(ซึ่งเป็นตัวอย่างในงานวิจัย)และมนุษย์เรา
นาฬิกาชีวิตสำหรับมนุษย์แล้วมีผลอย่างมากต่อสุขภาพเช่น ความผลต่อเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง,การทำงานของสมองที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและระบบเผาผลาญที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วน การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตอาจทำให้ทำงานของนาฬิกาชีวภาพผิดเพี้ยนไป ซึ่งนั่นหมายความว่าสารบางอย่างที่ร่างกายควรจะหลั่งกลับโดนกิจกรรมบางอย่างมาขวางและทำให้เราขาดสารตัวนั้นยกตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนเมลาโทนินที่จะหลั่งตั้งแต่ช่วง4ทุ่มถึงตี3 เป็นตัวช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต(Growth hormone)การนอนดึกบ่อยๆอาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร การปรับเปลี่ยนกิจวัตรในการใช้ชีวิตบ่อยๆอย่างการทำงานเป็นกะให้ตรงกับตารางงานใหม่ต้องใช้เวลา นาฬิกาชีวภาพสามารถปรับเปลี่ยนได้ในระดับที่จำกัดและสำหรับบางคนอาจเปลี่ยนได้น้อยมากซึ่งจะมีผลเสียกับการไปปรับเปลี่ยนนาฬิกาชีวิต
เราไม่สามารถสั่งให้ร่างกายของเราดึงพลังงานมาใช้ในระดับสูงสุดได้ตลอดทั้งวัน เราต้องกิน,พักผ่อนและนอนหลับเพื่อพักฟื้นร่างกาย นาฬิกาชีวิตของเราจะเป็นตัวควบคุมขั้นตอนเหล่านี้ซึ่งเป็นเหตุผลที่คนเราส่วนใหญ่จะตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตในเวลากลางวัน ร่างกายมีความพร้อมสำหรับการทำกิจวัตรต่างๆและจะรู้สึกอ่อนเพลียและนอนในเวลากลางคืน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทางชีวภาพที่ทำงานร่วมกันจะช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมการที่จะให้คนที่นอนดึก,คนที่เดินทางข้ามประเทศไกลๆให้ปรับตัวมาตื่นตอนเช้าในทันทีจึงยาก ร่างกายพวกเขาต้องใช้เวลาปรับตัวลงไปถึงระดับเซลล์เลยทีเดียว
ที่มา: businessinsider.com
เรียบเรียง: SignorScience