ยาแอสไพริน(Aspirin)ถูกค้นพบได้อย่างไร?
เมื่อ 4000 ปีก่อนชาวสุเมเรียนโบราณได้ค้นพบสิ่งที่น่าแปลกใจ เมื่อพวกเขาขูดเปลือกต้นไม้เฉพาะบางต้น มากิน อาการเจ็บปวดจะหายไป พวกเขารู้เพียงเล็กน้อย เท่านั้น แต่สิ่งที่พวกเขาค้นพบถูกกำหนดมาให้มีอิทธิพลต่ออนาคตทางการแพทย์ สิ่งที่ชาวสุเมเรียนค้นพบเป็นสารตั้งต้นของยาที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ นั่นคือ แอสไพริน
ส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์ในแอสไพรินถูกพบในต้นวิลโลว์ และพืชอื่นๆในป่า ซึ่งเป็นวิธีการแพทย์ของชาวสุเมเรียนในยุคกรีกโบราณ
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ชาวอังกฤษคนหนึ่งที่ชื่อว่าเอ็ดเวิร์ด สโตน (Edward Stone) ได้ทำการทดลองมายาวนานถึง 5 ปีและค้นพบว่าเปลือกไม้จากต้นวิลโลว์ ถ้านำมาทำเป็นผง กินแล้วจะสามารถรักษาอาการไข้ได้
หลังจากนั้นมาเกือบ 70ปี เภสัชกรชาวเยอรมันที่ชื่อว่า โจฮานน์ บุชเนอร์ ( Johann Buchner) ได้สรุปเอกลักษณ์ของมันและทำให้สารบริสุทธิ์ขึ้น สารนี้ชื่อว่า ซาลิซิน (Salicin) ตั้งแต่นั้นมาหมอทั้งหลายต่างพากันใช้เปลือกจากต้นวิลโลว์ และพืชที่อุดมไปด้วยสารซาลิซิน เช่นสมุนไพรที่ชื่อว่า เมดโดว์สวีท (Meadowsweet) เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด อาการไข้ และอักเสบ
ในปี 1853 นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้สังเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีซึ่งได้สารใหม่ขึ้นมาที่มีชื่อว่ากรดอะซีทัลซาลิซิลิก ( Acetylsalicylic acid) ที่สามารถระงับอาการปวด ลดไข้ และแก้อักเสบ
ดังนั้นในปี 1897 บริษัทผลิตยาเบเยอร์ ได้พบวิธีใหม่ในการทำการตลาดกับยาลดไข้แก้ปวดนี้โดยใช้ชื่อว่า แอสไพริน มันจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในยาที่ได้จากการสังเคราะห์ แอสไพรินจึงเป็นชื่อสินค้าดั้งเดิมของบริษัทเบเยอร์ ไม่นานนักแอสไพรินกลายเป็นชื่อเรียกที่มีความหมายเหมือนกับกรดอะซีทัลซาลิซิลิก ที่แก้ปวด แก้ไข้
แอสไพรินไม่เพียงแต่ลดอาการเจ็บปวด แต่ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการอักเสบหลายอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ (โรคไขข้อเสบเรื้อรัง) โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (การอักเสบของ หรือ ถุงที่ล้อมรอบหัวใจที่ทำหน้าที่ยึดหัวใจให้อยู่ในตำแหน่งคงที่) และโรคคาวาซากิ (การอักเสบของเส้นเลือด)
อย่างไรก็ตามนอกจากคุณค่าทางการแพทย์ของแอสไพริน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าจริงๆแล้วมันทำงานอย่างไร จนในช่วงปี 1960 ถึง 1970 นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนและอังกฤษได้สร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ พวกเขาแสดงให้เห็นว่าแอสไพรินเป็นตัวขัดขวางการสร้างสารเคมีบางอย่างในร่างกาย ที่เรียกว่า โพรสตาแกลนดิน
(Prostaglandin)ซึ่งเป็นสารเคมีตามธรรมชาติในร่างกายที่ส่วสัญญาณความรู้สึกเจ็บปวดและการอักเสบ
ในปี 1982 การค้นพบนี้ นักวิจัยได้รับรางวัลโนเบิล สาขาการแพทย์ ซึ่งเปิดเผยถึงความเสี่ยงของแอสไพรินว่าการรับแอสไพรินมากเกินไปจะทำให้เลือดออกในลำไส้และสมอง และกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาที่เรียกว่า อาการเรย์ ( Reye’s syndrome) ซึ่งพบได้น้อยแต่ถึงขั้นเสียชีวิตได้เพราะเนี่องจากมีผลกับตับและสมองในเด็ก
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ชื่อเสียงของแอสไพรินถูกบดบังด้วยยาแก้ปวดตัวใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า ชื่อว่า พาราเซททามอล (Paracetamol) หรือ อะเซตามีโนเฟน(Acetaminophen) และ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen ) ที่ต้านอาการอักเสบ
แต่ในการวิจัยโดยนักวิจัยที่ได้รางวัลในปี1982 นั้น มีผลที่แสดงให้เห็นว่าแอสไพรินช่วยลดการสร้างทรอมบ๊อกเซน (Thromboxane) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เกล็ดเลือดมาเกาะกลุ่มกัน การทดลองทางคลีนิคที่สำคัญพบว่า แอสไพรินช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคหัวโจถึง 44% สำหรับคนที่ใช้ยานี้ ทุกวันนี้ยาแอสไพรินถูกจ่ายให้กับคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันเพราะมันช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดในหลอดเลือดแดงที่ไปยังสมองและหัวใจ และมีการศึกษาว่ามันยังลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer)
การค้นพบเหล่านี้ได้เปลี่ยนแอสไพรินจากยาแก้ปวด เป็นการรักษาที่ช่วยชีวิตคน
ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience