จันทรุปราคา Lunar Eclipse และดวงจันทร์สีเลือด Blood Moon
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา(Lunar Eclipse)
อาจจะถูกเรียกด้วยชื่ออื่นด้วย เช่น จันทรคาธ จันทรคราส ราหูอมจันทร์ กบกินเดือน เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหลังโลก ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์เรียงตัวในแนวเดียวกัน หรือตรงกัน โดยมีโลกอยู่ระหว่างกลาง ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ปรากฏการณ์นี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นปีละประมาณ 1-2 ครั้ง การที่ดวงจันทร์โคจรผ่านหลังโลกทำให้เงาของโลกบดบังดวงจันทร์ มองจากโลกทำให้เห็นว่าดวงจันทร์ค่อยโดนเงาบดบัง ซึ่งประเภทของจันทรุปราคาแบ่งเป็น3ประเภท
1. จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเข้าไปอยู่ในเงามืด(Umbra) ของโลก
2. จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อบางส่วนของดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงามืด
3. จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามัว(Penumbra) เพียงอย่างเดียว
ดวงจันทร์สีเลือด (Blood Moon)
สาเหตุที่ดวงจันทร์เป็นสีออกอมแดง หรือที่เรียกกันว่า พระจันทร์สีเลือด เป็นเพราะว่าแสงจากดวงอาทิตย์
ส่วนใหญ่จะถูกโลกบดบัง แต่ก็ยังมีแสงอาทิตย์บางส่วนเดินทางไปตกกระทบดวงจันทร์ได้ ทําให้ดวงจันทร์
ยังสามารถสะท้อนแสงมายังโลกได้เล็กน้อย แต่แสงจากดวงอาทิตย์ที่เล็ดลอดจากเงาโลกผ่านไปยัง
ดวงจันทร์ได้นั้น จะเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลกและเกิดการกระเจิง สีน้ําเงินที่มีความยาวคลื่นสั้นจะถูกกระเจิง (Scatter) ออกไป เหลือเพียงแสงสีแดงซึ่งมีความยาวคลื่นมากกว่า แสงสีแดงที่เหลือรอดไปได้นี้เองที่ไปตกกระทบดวงจันทร์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ดวงจันทร์สีเลือด
ภาพแสดงการกระเจิงของแสงที่ผ่านชั้นบรรยากาศของโลก
ที่จุด A – B ดังนั้น จึงเหลือแสงย่านสีแดงบางส่วนทีไปตกกระทบดวงจันทร์
เรียบเรียง: SignorScience