เครียดแล้วกิน เกิดจากอะไร?

สุขภาพ

เมื่อเราอารมณ์เสียหรือมีเหตุการณ์บางอย่างมาทำให้เรารู้สึกแย่ บางครั้งเราอาจจะมีความรู้สึกอยากกินขนม, ของหวานๆอย่างชอคโกแลต หรืออยากกินของอร่อยที่เราชอบ ทั้งๆที่เราไม่ได้รู้สึกหิวเลย
นั่นเป็นเพราะเมื่อเราได้กินของอร่อย สมองจะหลั่งสารสื่อประสาท(Neurotransmitter) ที่ชื่อ เซโรโทนิน(Serotonin) ออกมา ซึ่งสารนี้ช่วยในเรื่องของการปรับอารมณ์ ลดความเครียด ความวิตกกังวล ถ้าสมองหลั่งสารตัวนี้มากขึ้นจะทำให้เรารู้สึกมีความสุข ใจเย็นลง มีสมาธิมากขึ้นและอารมณ์แปรปรวนน้อยลง

 

แต่เมื่อเรารู้สึกแย่ สมองเรากลับใช้วิธีนี้เป็นวิธีลัดในการรับมือกับอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของเรา แทนที่เราจะไปแก้ปัญหาหรือจัดการกับตัวการที่ทำให้เรารู้สึกแย่ สมองกลับบอกว่าไปหาของกินสิ กินของอร่อยแล้วจะได้รู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้เวลาที่เราเครียด สมองส่วนหน้า(Prefrontal Cortex) ที่ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมความคิดและการกระทำ(Cognitive Control) หรือในที่นี่เป็นตัวเตือนสติว่าไม่ควรกินนะเพราะเราไม่ได้หิวหรือกินมากเกินไปแล้วนะจะถูกปิดกั้นชั่วคราวไปอีกด้วย เป็นเหตุผลว่าทำไมหลังจากเราได้กินหรือทำบางอย่างไปแล้วถึงมานึกไตร่ตรองได้ในภายหลัง พอเหตุการณ์แบบนี้เกิดซ้ำกันเรื่อยๆ อารมณ์จึงกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักในการกระตุ้นให้เรารู้สึกอยากกินนั่นเอง

 

 

ที่มา: TED/youtube.com
เรียบเรียง: SignorScience